buy and sell handmade in thailand งานฝีมือ งานประดิษฐ์ งานฝีมือญี่ปุ่น
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
Most active topics

google
งานอดิเรก
SEO Monitore
Seo Monitor
Social bookmarking

Social bookmarking reddit      

Bookmark and share the address of shopping in womanforum on your social bookmarking website

Bookmark and share the address of buy and sell handmade in thailand งานฝีมือ งานประดิษฐ์ งานฝีมือญี่ปุ่น on your social bookmarking website

RSS feeds


Yahoo! 
MSN 
AOL 
Netvibes 
Bloglines 



การหาไอเดียทางธุรกิจ

Go down

การหาไอเดียทางธุรกิจ Empty การหาไอเดียทางธุรกิจ

Post by Admin Sat Mar 10, 2012 6:41 pm

การหาไอเดียทางธุรกิจ

บทความโดย : ณัฐพล ลีลาวัฒนานันท์
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม


ในสมัยก่อนนักศึกษาส่วนใหญ่เมื่อจบการศึกษาแล้วก็จะมุ่งไปที่การทำงานรับราชการหรือทำงานในบริษัทเอกชน มีส่วนน้อยที่สนใจทำธุรกิจของตนเอง หลายๆ รายต้องเริ่มธุรกิจด้วยความจำเป็น เนื่องจากหางานไม่ได้หรือได้รับความกดดันจากงานที่ทำ เนื่องจากการทำงานมีเส้นสาย อึดอัดทนไม่ได้ก็ลาออกมา วิกฤตในปี 2540 เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีคนจำนวนมากต้องหันมาทำธุรกิจของตนเองเพราะตกงาน หางานทำไม่ได้ พอทำทีแรกๆ ก็ทำด้วยความจำใจ แต่พอนานไปๆ ธุรกิจก็ประสบความสำเร็จก็มีจำนวนไม่น้อย

มาถึงในยุคปัจจุบันต้องยอมรับกันว่ามีนักศึกษารุ่นใหม่ๆ ที่สนใจทำธุรกิจของตนเองกันมากขึ้น ซึ่งก็มีมาจากหลายปัจจัย เช่น จากการส่งเสริมของทางราชการ จากการที่มีวิชาชีพใหม่ๆ เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากความก้าวหน้าทางระบบการสื่อสารโทรคมนาคม เช่น การออกแบบเว็บไซด์ การซ่อมโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น ที่สามารถทำได้ด้วยคนเพียงคนเดียวและใช้เงินลงทุนไม่มาก งานหายาก ผลตอบแทนจากการทำงานโดยเฉพาะรายได้เมื่อจบระดับปริญญาตรีไม่สูงมากเมื่อเทียบกับทำธุรกิจเอง มีแฟรนไชส์จำนวนมากให้เลือกลงทุนตามกำลังด้วยเงินลงทุนน้อยๆ ไปถึงจำนวนมาก มีข่าวสารจำนวนมากที่เกี่ยวกับการประสบความสำเร็จของการทำธุรกิจส่วนตัว กระตุ้นให้เกิดความสนใจทำธุรกิจเอง เป็นต้น

ผู้เขียนมักจะได้รับคำถามอยู่เสมอๆว่า มีธุรกิจอะไรบ้างที่น่าสนใจลงทุนบ้าง เพราะสนใจจะลาออกจากงานไปลงทุน ซึ่งก็ตอบไปแบบกลางๆว่า ทุกธุรกิจน่าสนใจทั้งสิ้นขึ้นอยู่กับตัวเราว่าเหมาะสมกับธุรกิจใด ทั้งด้านความสามารถส่วนตัว เงินทุน ความอดทน ความมุมานะ ยกตัวอย่างง่ายๆ ร้านอาหาร เราจะเห็นว่ามีอยู่เป็นจำนวนมาก มีทั้งร้านอาหารที่ประสบปัญหาขาดทุนจนต้องเลิกกิจการไปก็ไม่น้อย ในขณะเดียวกันก็มีธุรกิจร้านอาหารอีกจำนวนไม่น้อยทีเดียวที่ประสบความสำเร็จ สามารถขยายสาขาออกไปเป็นจำนวนมาก ซึ่งหากศึกษาลึกๆ ลงไปก็จะพบว่ามาจากสาเหตุที่หลากหลาย แต่สาเหตุเหล่านั้นหากเกิดกับผู้ประกอบการรายอื่นอาจไม่ใช่ปัญหา เพราะสามารถแก้ไขได้หรือมีจุดแข็ง เป็นต้น

ผู้ที่สนใจทำธุรกิจนั้น ขอแนะนำว่าอย่ารีบร้อน ควรให้เวลากับตัวเองในการแสวงหาโอกาสการลงทุนที่เหมาะสมก่อน ไม่ใช่เห็นธุรกิจอะไรก็ด่วนตัดสินใจลงทุน เพราะภายหลังอาจพบว่ามีธุรกิจอื่นที่น่าสนใจมากกว่า แต่ก็ได้ลงทุนไปแล้ว ครั้นจะเลิกก็เสียดายเงินที่ลงทุนไป หรือเงินทุนที่มีอยู่นำไปลงทุนหมดแล้ว ไม่มีเงินทุนเหลือพอที่จะลงทุนใหม่ จึงต้องศึกษาให้รอบด้านก่อนจึงค่อยตัดสินใจ และในการเลือกธุรกิจก็ควรศึกษาหลายๆ ธุรกิจเปรียบเทียบกันก่อน เพื่อหาธุรกิจที่น่าสนใจและเหมาะสมกับตนเองมากที่สุด และหากจะให้ดี ก่อนลงทุนเอง อาจตัดสินใจไปเป็นลูกจ้างในธุรกิจที่สนใจเพื่อศึกษาเชิงลึก ให้รู้จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาสและอุปสรรคก่อนตัดสินใจลงทุนเอง เพราะเวลาต้องการลงทุน มักจะมองแต่แง่ดี ลืมข้อเสียไปทั้งหมด พอลงทุนจริงก็ค่อยๆ ปรากฏขึ้นมาภายหลัง ทำให้ต้องสูญเสียเงินลงทุนไป

ผู้สนใจลงทุนจะหาโอกาสในการลงทุนได้อย่างไร ผู้เขียนขอแนะนำแนวทางไว้เผื่อผู้สนใจจะทำธุรกิจของตนเองจะได้นำไปลองทำดูบ้าง การเริ่มต้นมองหาโอกาสจากงานที่ทำอยู่ ผู้ที่ทำงานประจำอยู่อาจจะลองมองหาโอกาสทางธุรกิจจากงานที่ทำอยู่ก็ได้ว่าหากออกไปทำเองจะสามารถทำได้หรือไม่ หรืออาจไม่ต้องทำทั้งหมดก็ได้ เพราะต้องใช้เงินลงทุนสูง หรือต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ อาจทำเพียงบางส่วน เช่น หากทำธุรกิจจำหน่ายกล้องวงจรปิด แต่มีปัญหาด้านบริการติดตั้ง เนื่องจากช่างหายาก เข้าออกบ่อย ก็อาจทำธุรกิจ บริการติดตั้งกล้องวงจรปิด โดยมีพนักงาน 2-3 คน และมาขอรับงานจากบริษัทที่ขายกล้องวงจรปิดที่ทำงานอยู่ เป็นต้น หากจะมองหาธุรกิจจากงานที่ทำอยู่ ก็ขอแนะนำว่าอย่าไปแย่งลูกค้า จากบริษัทที่ทำอยู่ ควรสร้างลูกค้าใหม่ๆ หรือไม่ก็เป็นการทำธุรกิจที่เอื้อต่อกัน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง หรือแย่งลูกค้ากันด้วยการลดราคา เป็นต้น เพราะถ้าเป็นเช่นนั้น ผู้ที่มาลงทุนใหม่อาจเสียเปรียบ โดยเฉพาะถ้าเงินทุนมีจำกัด

การหาโอกาสไปเดินดูการทำธุรกิจของร้านค้าต่างๆ ตามย่านการค้าที่สำคัญๆ เช่น ห้างสรรพสินค้าที่มีพื้นที่ให้ร้านค้าเล็กๆเช่าเป็นจำนวนมาก เช่น มาบุญครอง ประตูน้ำ โบ้เบ๊ สำเพ็ง เป็นต้น ทดลองไปใช้บริการหรือไปสอบถามหาข้อมูลจากผู้ประกอบการที่ทำอยู่ เพื่อหาข้อมูลทั่วๆไป เช่น จำนวนลูกค้า รายได้ กำไร ค่าเช่าพื้นที่ ปัญหา อุปสรรค เป็นต้น ซึ่งไม่ต้องอาย เพราะถ้าคุณกล้าถาม คุณมักจะได้รับคำตอบ บางทีได้ข้อมูลมากกว่าที่คุณถามอีก คนไทยมีน้ำใจ และมักไม่ปิดบัง นอกจากถามแล้ว ก็ควรสังเกตจำนวน หรือพฤติกรรมของลูกค้ามาใช้บริการ หากมาครั้งเดียวไม่แน่ใจ ข้อมูลไม่พอ ก็มาหลายๆเที่ยว ถามหลายๆร้านก็ได้ ยิ่งถามมาก ยิ่งดูมาก ข้อมูลก็ยิ่งแน่น

การเข้าร่วมงานมหกรรมขายสินค้า เช่น งานโอทอป งานแสดงสินค้า เป็นต้น ก็จะทำให้เรามีโอกาสเห็นสินค้าหลากหลายที่นำมาจำหน่าย ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบและหลากหลายคุณภาพ คุณอาจเกิดไอเดียที่จะทำขายบ้าง หรืออาจมีความคิดที่จะเป็นตัวแทนจำหน่ายหรือจ้างผลิตก็ได้ คุณสนใจก็สอบถามขอเบอร์โทรศัพท์ เผื่อไว้ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมในภายหลัง

การออกไปหาแหล่งผลิตและจำหน่ายสินค้าตามต่างจังหวัด มีวิสาหกิจชุมชนจำนวนมากที่มีความสามารถในการผลิตแต่ไม่มีความสามารถด้านการตลาด หากท่านมีโอกาสไปพบเห็น และท่านมีอาคารที่ตั้งอยู่ในทำเลดีหรือเป็นนักขายอาจทำธุรกิจเป็นตัวแทนจำหน่ายหรือจ้างให้เป็นผู้ผลิตสินค้าให้ก็ได้ วิธีการหารายชื่อร้านค้าวิสาหกิจชุมชนหรือโอทอปนั้นหาไม่ยาก ท่านสามารถหาจากอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะของกรมพัฒนาชุมชน ซึ่งดูแลด้านโอทอป และกรมส่งเสริมการเกษตรซึ่งดูแลด้านวิสาหกิจชุมชน เมื่อท่านได้ข้อมูล ชื่อที่อยู่ ท่านก็หาเวลาออกไปเยี่ยมชมวิสาหกิจเหล่านี้ ถ้าต้องงทำงานวันธรรมดา เสาร์อาทิตย์ก็แทนที่จะไปเที่ยวก็แวะไปดูสินค้าไปดูกระบวนการผลิต

การศึกษาหาโอกาสทางธุรกิจจากสื่อต่างๆ ซึ่งปัจจุบันมีอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งที่เป็นสิ่งพิมพ์ เช่น วารสาร หนังสือพิมพ์ หนังสือ เป็นต้น สื่อวิทยุ โทรทัศน์ เป็นต้น

การเข้ารับการฝึกอบรมด้านวิชาชีพจากหน่วยงานภาครัฐ เช่น กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เป็นต้น เมื่ออบรมแล้วก็จะได้ความรู้ อาจเกิดชอบขึ้นมาก็เป็นโอกาสทางธุรกิจได้เช่นเดียวกัน

การดูธุรกิจที่เกี่ยวกับแฟรนไชส์ก็ได้ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก ให้เลือกตั้งแต่ธุรกิจขนาดเล็กๆ ลงทุนแค่หลักหมื่นไปกระทั่งธุรกิจขนาดใหญ่ที่ต้องใช้เงินลงทุนเป็นล้าน การหาธุรกิจเกี่ยวกับแฟรนไชส์หาง่ายมาก ท่านสามารถหาจากทางอินเตอร์เน็ตหรือจากหนังสือที่เกี่ยวข้องกับแฟรนไชส์ซึ่งมีจำหน่ายตามร้านหนังสือ เมื่อได้ธุรกิจที่สนใจหรือ ยังไม่แน่ใจก็ติดต่อกับเจ้าของแฟรนไชส์เพื่อหาข้อมูลสำหรับประกอบการตัดสินใจลงทุน

การถามจากเพื่อนๆ หรือคนรู้จักที่ทำธุรกิจอยู่แล้ว ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการหาโอกาสทางธุรกิจ ซึ่งก็จะง่ายเพราะถามจากคนรู้จัก เว้นแต่บางคนไม่อยากให้เป็นคู่แข่งก็ไม่บอกข้อมูลอย่างถูกต้องก็มีบ้าง

เมื่อได้ไอเดียทางธุรกิจจากหลากหลายแหล่งแล้ว ก็ต้องนำมาประมวลเพื่อคัดเลือกหาธุรกิจที่สนใจเพื่อศึกษาในเชิงลึกก่อนตัดสินใจลงทุน ขอแนะนำว่าถ้ายังไม่มีการฟันธงว่าต้องเป็นธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งอย่างแน่นอน ก็ควรเลือก 2-3 ธุรกิจที่สนใจเพื่อทำการหาข้อมูลเชิงลึกเพื่อประกบการตัดสินใจ หรือที่เรียกว่าทำการศึกษาความเป็นไปได้ ของการลงทุนก่อน แล้วจึงเลือกเฉพาะธุรกิจที่ดีที่สุด แต่อย่าลืมประเมินว่าตนเองเหมาะสมกับธุรกิจนั้นๆ หรือไม่


ที่มา : ศูนย์ธุรกิจอุตสากรรม(BOC) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
boc.dip.go.th

Admin
Admin

Posts : 24
Points : 73
Join date : 2011-03-20

https://buyandsellhandmade.forumotion.com

Back to top Go down

Back to top


 
Permissions in this forum:
You cannot reply to topics in this forum